เงินโอนมากแค่ไหน ถึงเข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบภาษี

เงินโอนมากแค่ไหน ถึงเข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบภาษี 


แยกเป็น 2 แบบ ลองเช็คดูว่าเราเข้าข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือไม่ 

1. ฝากเงินหรือรับเงินด้วยการโอน 3000 ครั้งต่อปีต่อหนึ่งธนาคาร อาจเข้าข่ายต้องชี้แจงการเสียภาษีหรือที่มาของการรับเงิน 


2. ถ้าไม่ถึง 3000 ครั้ง แต่ฝากหรือรับโอนเข้าบัญชี รวมทุกบัญชีใน 1 ธนาคาร 400 ครั้งต่อปีและยอดเงินรับรวม 2 ล้านบาทต่อปี ธนาคารก็ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากรด้วยเช่นกัน 

(ต้อง 400 ครั้งและ 2 ล้าน ถ้าแค่อย่างเดียวยังไม่เข้าข่ายค่ะ เช่นถ้าถึง 400 แต่ไม่ถึง 2 ล้านก็ไม่ต้องส่งข้อมูล หรือถึง 2 ล้านแต่ไม่ถึง 400 ก็ไม่ต้องส่งข้อมูลนะครับ) 


หมายเหตุ :  

การตราวจสอบข้อมูลนี้ คิดแยกแต่ละสถาบันการเงิน เช่นธนาคาร A ก็นับรวมสมุดบัญชีทุกเล่มของธนาคาร A แต่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคาร B และนับจำนวนการทำรายการเฉพาะฝั่งของการรับเงินเข้าเท่านั้น ไม่นับฝั่งการโอนเงินออกจากบัญชี 


สิ่งที่ต้องเตรียมล่วงหน้าเผื่อสรรพากรถามหา 

หากเข้าข่ายตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ด้านบน เพียงข้อเดียว ก็ให้เตรียมเอกสารไว้ล่วงหน้า เช่น
* เอกสารสาเหตุการรับเงิน
* บัญชีต้นทางที่โอนเงินมา
* ข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทำธุรกิจต่างๆ
* ควรทราบที่มาของเงิน ว่าจะเป็นการรับเงินแบบรายได้จากการทำงานหรือทำธุรกิจหรือไม่ เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่
* เตรียมแบบ ภงด.90 หรือ ภงด.91 ปีนั้นๆ ไว้เพื่อชี้แจงการเสียภาษีในแต่ละปี กับแต่ละรายได้ที่รับมา 


จะทำอะไรถึงจะไม่ต้องเสียภาษีเงินผลประโยชน์ที่ได้มา 

ขอแนะนำการนำเงินไปทำประกันออมทรัพย์ครับ 

เพราะผลประโยชน์ที่ได้จากกรมธรรม์ประกันสะสมทรัพย์ ไม่ต้องเสียภาษีครับ 

จะได้แบ่งเบาภาระลง นอกจากนี้ เบี้ยประกันที่จ่ายเพื่อทำประกัน ถ้าเป็นแบบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีด้วยครับ



ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

พิเชษฐ สุดแก้ว

เบอร์ติดต่อ