เงิน 1000000 บาท อีก 30 ปีข้างหน้าเหลือเท่าไหร่



 

ถ้าพูดถึงความน่ากลัวของเงินเฟ้อ คงหนีไม่พ้นการทำให้มูลค่าของเงินลดลง เพราะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แปลว่าจะซื้อของแต่ละชิ้นก็ต้องใช้เงินมากขึ้น

เช่น วันนี้ก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม ราคา 50 บาท ถ้าเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ต่อปี อีก 5 ปีข้างหน้าก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม จะมีราคา 58 บาท  

          ราคาสินค้าแพงขึ้น หมายถึง เงินเฟ้อ

          ราคาสินค้าถูกลง หมายถึง เงินฝืด

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ หาทางเพิ่มค่าของเงินในกระเป๋าให้มากกว่าเดิม หรืออย่างน้อยๆ ก็หาให้ได้เท่ากับเงินเฟ้อ ดังนั้น พอได้ยินคำว่า “เงินเฟ้อขยับขึ้น” ทุกคนคงร้อนๆ หนาวๆ เพราะเงินเฟ้อถูกยกให้เป็นความเสี่ยงสำคัญเรื่องหนึ่งสำหรับการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ

นาย ก. อายุ 31 ปี ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และอยากมีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาท เขาประเมินว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงอายุ 85 ปี แปลว่าต้องมีเงินเก็บ 6,240,000 บาท (20,000 บาท x 312 เดือน) ถึงจะบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้

นาย ก. ออมเงินทุกเดือนไม่ขาดตกบกพร่อง แต่เขากลับลืมไปว่าเงิน 6,240,000 บาท เป็นมูลค่าเงินที่เทียบเท่ากับเงินในปัจจุบัน ซึ่งตอนที่เกษียณ หากเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ต่อปี เงิน 6,240,000 บาท จะมีมูลค่าเหลือเพียง 2,570,797 บาท ด้วยการกัดกร่อนของเงินเฟ้อ ถ้าอยากมีเงิน 6,240,000 บาท ตอนอายุ 60 ปี เขาต้องเก็บเงินให้ได้มากกว่านั้นหรือประมาณ 15,146,118 บาท



.

.

.



.



 

เงินเฟ้อจะทำให้รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น คนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต

ดังนั้น เมื่อเก็บออมเงินเพื่อเตรียมไปใช้ในวัยเกษียณ ต้องคำนวณเงินเฟ้อเข้าไปด้วย เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงในอนาคต

หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน


ฐิติเมธ โภคชัย

ผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรียบเรียงโดย

ธิติวัฒน์ วัฒนพลไพศาล

CEO Founder FSEG Consultant

www.fseg2bconsultant.com



ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

ธิติวัฒน์ วัฒนพลไพศาล

เบอร์ติดต่อ

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ