เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน


"ตราบใดที่ยังไม่ตาย คุณยังต้องใช้เงิน เตรียมสำรองมันเอาไว้ดี ๆ"

-The Money Coach-


เสบียงสำรอง

        เสบียงสำรอง หมายถึง เงินจำนวนหนึ่งซึ่งเก็บออมเอาไว้ใช้จ่ายยามเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นภูมิคุ้มกันชีวิต ทำให้ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่อไปได้อีกสักระยะ แม้ในช่วงที่รายได้หลักจากการทำงานขาดหายไป อาทิ ตกงาน ถูกเบี้ยวค่าแรง ค่าจ้างเลื่อนชำระ หรือเจ็บป่วยทำงานไม่ได้ เป็นต้น

        เพราะแม้ไม่มีรายได้ แต่ชีวิตยังมีเรื่องต้องใช้จ่ายทุกวัน หากไม่เตรียมเงินสำรองไว้ ก็คงหนีไม่พ้นต้องเข้าสู่วงจรการกู้ยืมเงิน และเป็นหนี้อย่างแน่นอน

        (ถึงตรงนี้ เพื่อให้เกิดอรรถรสในการอ่าน แนะนำให้ลองกลับไปเปิดงบ รายรับ-รายจ่าย แล้วดูรายจ่ายรวมในแต่ละเดือน แล้วนึกดูว่า ถ้าไม่มีรายได้ ในช่องรายรับ แล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร)


        ถึงตรงนี้ต้องไม่ลืมว่า หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อมากินอยู่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนั้นเป็นหนี้ที่จะทำให้คุณจนลง (หนี้จน) เพราะเป็นหนี้ที่ไม่ได้ยังประโยชน์ในการสร้างทรัพย์สินแต่อย่างใด ยิ่งกู้มาก ก็ยิ่งจนมาก ดังนั้นเตรียมฟูกไว้รองรับปัญหาที่ไม่คาดฝัน คนเราควรมีเงินสำรองเก็บไว้ ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน อย่างน้อยเท่ากับรายจ่าย 6 เดือน


         วิธีการคำนวณก็ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สมมตินายจักรพงษ์มีค่าใช้จ่ายทั้งคงที่ะผันแปรรวม 20,000 บาทต่อเดือน ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่นาย ก จะมีเงินสำรองสะสมไว้เผื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉินเท่ากับ 20,000 x 6 หรือเท่ากับ 120,000 บาทนั่นเอง


         ทั้งนี้สำหรับคนที่มี รายได้มากกว่าหนึ่งทางและสามารถชดเชยกันได้หรือคู่สามีภรรยาที่มีรายได้ทั้งคู่ ก็อาจเก็บเงินสำรองไว้ที่ระดับ 3 เท่าของรายจ่าย (หรือ 3 เดือน) ก็ยังพอไหว เพราะหากรายได้หายไปทางหนึ่ง ก็ยังเหลืออีกทางหนึ่งไว้พอประคับประคองได้


การสร้างตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

         วิธีการในการเก็บเงินเพื่อเติมตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ก็ให้นำ เงินออมขั้นต่ำ 10% ที่เราหักออมทุกเดือน บวกกับเงินคงเหลือในแต่ละเดือนมาเก็บสะสมไว้ในตะกร้าเงินสำรองนี้ โดยอาจเปิดบัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำหรือกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ สะสมไปเรื่อยๆ ทุกเดือน จนครบตามเป้าหมาย

         โดยในบางเดือนมีรายได้ก้อนใหญ่เข้ามา อาทิ โบนัส ค่าคอมมิชชั่นค่านายหน้า ฯลฯ ก็อาจแบ่งมาสมทบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

         ทีนี้คำถามส่วนใหญ่ที่คนชอบถามอยู่เสมอก็คือ เราควรเก็บเงินสำรองให้เต็มตะกร้าก่อนเริ่มลงทุนใช่หรือไม่




         คำตอบที่ถือว่าดีที่สุดก็คือ ใช่ครับ เพราะเป้าหมายแรกของการออมสำหรับคนเรานั้น คือ การเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินให้ได้เสียก่อนเพื่อเป็นการ ประกันสภาวะการเงิน หากเกิดเหตุไม่คาดฝันในระยะสั้น เมื่อได้เงินสำรองครบแล้วจึงค่อยเริ่มสะสมเงินลงทุน โดยในระหว่างที่เก็บออมเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินก็อาจแบ่งเวลาเริ่มต้นศึกษาเรื่องการลงทุนไปพร้อมๆ กันได้

         แล้วอย่างนี้ไม่ต้องใช้เวลาเป็น 3-4 ปีเลยหรือกว่าจะเก็บเงินสำรองได้ครบ เพราะอย่างเป้าหมายเงินสำรอง 120,000 บาท (ใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท) หากเก็บเดือนละ 2,500 ยังต้องใช้เวลาถึง 4 ปี


          ใช่ครับ แต่ที่จริงก็อาจสะสมได้เร็วกว่านั้นได้ ถ้าหากคุณเป็นคนตั้งใจที่จะเก็บออมจริง เพราะหากมีรายได้ก้อนใหญ่เข้ามา ก็อาจแบ่งเงินสมทบเข้าไป ได้ จะว่าไปสุดท้ายแล้วเงิน 120,000 บาท ก็ไม่ได้หายไปไหน เพราะมันก็จะไป  โผลในช่อง "ทรัพย์สิน" ของงบแสดงฐานะการเงินของคุณอยู่ดี หรือมองในอีกมุมหนึ่ง หากเงินแค่ 120,000 บาทยังเก็บไม่ได้ ก็อย่าเสียเวลาคิดถึงเรื่องการลงทุนเลย เพราะเงินแค่นี้มันห่างไกลจากคำว่า "มั่งคั่ง" มากมายนัก (เงินสนสองยังไม่มีปัญญา นับประสาอะไรกับความ

บทความดี ๆ จาก -The Money Coach-
หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือ คนไทยฉลาดการเงิน


ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

ธิติวัฒน์ วัฒนพลไพศาล

เบอร์ติดต่อ

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ