อาชีพ "ตัวแทนประกันชีวิต" อาชีพนี้เหมาะกับใคร

อาชีพ “ตัวแทนประกันชีวิต” อาชีพนี้ เหมาะกับใคร และทำอย่างไรถึงน่าจะประสบความสำเร็จในอาชีพได้

 

“การเตรียมตัว”

ก่อนที่เราจะเข้ามาเป็นตัวแทนประกันชีวิตได้นั้น เราจำเป็นต้องมีใบอนุญาต “ตัวแทนประกันชีวิต” ก่อน จึงจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เราจึงต้องไปสอบเป็น ตัวแทนประกันชีวิตให้ผ่านก่อน ซึ่งเราสามารถเตรียมตัวได้จากการหาอ่านตำรา หรือทำตัวอย่างข้อสอบ ที่ทาง “ฝ่ายขาย” จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งฝ่ายขายนี้ก็เปรียบเสมือนทีมย่อยๆแต่ละทีมภายในบริษัทประกัน แต่ละหน่วยก็จะมีบริหารหน่วยคอยดูแล (เปรียบเสมือนผู้เป็น “หัวหน้า”งานของเรา) หากเราสนใจจะเป็นตัวแทนประกันชีวิต ก็สามารถติดต่อเข้าไปยังหน่วยประกันที่สนใจ หรือสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ กับไทยประกันชีวิตที่มีให้บริการ

 

“การฝึกอบรมตัวแทนใหม่”

หลังจากที่เราเลือกบริษัท เลือกฝ่ายขาย และสอบเป็นตัวแทนประกันชีวิตผ่านแล้ว ส่วนใหญ่ทางบริษัทแต่ละที่ ก็จะมีโปรแกรมฝึกฝนให้กับตัวแทนใหม่ทุกคน 

โดยเริ่มจากการสอนแบบประกันต่างๆของทางบริษัท รวมถึงรายละเอียดและเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองสุขภาพด้านต่างๆ เพื่อให้เราเข้าใจประกันแต่ละแบบ นอกจากนั้นก็ยังมีการอบรมเรื่องโครงสร้างการจ่ายผลตอบแทน และก็จะมีการฝึกฝนเพื่อให้เราพร้อมเริ่มทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสอนการหาและการสร้างฐานลูกค้า,วิธีการเข้าพบลูกค้า และแนวทางการนำเสนอประกัน, การค้นหาความต้องการและประเมินความจำเป็นในการทำประกันของลูกค้า เพื่อให้แนะนำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าว จะมีอย่างต่อเนื่องในช่วง 90 วันแรกของการเริ่มเป็นตัวแทน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ที่เราต้องเตรียมพร้อมพัฒนาตัวเองให้ทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

  

“แนวทางการทำงาน”

เมื่อเริ่มต้น เราต้องมี “แผนงาน” ในแต่ละสัปดาห์ก่อน ว่าเราจะติดต่อใคร วันไหน เพื่อขอนัดพบไปแนะนำวางแผนเกี่ยวกับการทำประกันให้ได้บ้าง ซึ่งเราก็ต้องทำงานหนักในการคิดหรือหารายชื่อคนที่เราน่าจะมีโอกาสเข้าพบได้ จากนั้นตลอดสัปดาห์ เราก็เดินทางเข้าพบลูกค้าตามแผนที่เราได้นัดหมายไว้ โดยระหว่างสัปดาห์ ก็จะมีช่วงเวลาที่ทางหน่วยอาจนัดประชุมเพื่อติดตามงาน ปรึกษากันเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอมา

 

รวมถึงมีการเข้าสัมมนาระหว่างหน่วยที่จะมีตัวแทนจากหน่วยอื่นๆมาแชร์ประสบการณ์ทำงานเป็นตัวอย่างให้ฟัง สำหรับคนที่เป็นตัวแทนที่มีลูกค้าที่ดูแลอยู่แล้วระดับหนึ่ง ก็อาจจะมีกิจกรรมอย่างอื่นทำเพิ่มในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบลูกค้าเก่า เพื่อทบทวนแผนประกันเดิม, ติดต่อประสานงานกับบริษัทประกันหรือโรงพยาบาลในการขอประวัติสุขภาพ หรือเอกสารด้านการเคลมให้แก่ลูกค้า, ใช้เวลาศึกษาอบรม หรือเตรียมตัวสอบเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินด้านอื่นๆเพิ่มเติม

 

ทำการตลาดหรือสร้างเครือข่ายให้ตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทำ content ลงโซเชียลมีเดียอย่าง เว็บไซต์ หรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ ตามความสนใจหรือความถนัดของแต่ละคน

  

"ด้านผลตอบแทน”

คนที่เป็นตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่า “คอมมิชชั่น” ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากเบี้ยประกันที่ลูกค้าจ่าย โดยเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 5-40% ของเบี้ยปีแรก (แล้วแต่บริษัท และขึ้นอยู่กับแบบประกันแต่ละแบบ) และจะค่อยๆลดลงในปีถัดๆไปเมื่อลูกค้าจ่ายเบี้ยปีต่อ นอกเหนือจากนี้ แต่ละบริษัทก็มักจะมีเงินโบนัสพิเศษให้ หากยอดขายถึงเงื่อนไขที่กำหนดและเลื่อนตำแหน่งตามผลงานที่ทำใด้ตามเกณท์แต่ละบริษัท

 

“ทัศนคติสำคัญมาก”

การจะทำอาชีพตัวแทนประกันชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น ลำพังเพียงการมีความรู้หรือมีทักษะที่ดี ก็อาจไม่เพียงพอ หากเรายังมีทัศนคติและคุณสมบัติในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา จอยคิดว่า ทัศนคติและคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ ควรประกอบไปด้วย

 

มีความกระตือรือร้นและทุ่มเทในการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากอาชีพนี้เป็นอาชีพอิสระ ไม่มีใครมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชให้เราต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น หากเราอยากเก่งในงาน เราจึงต้องเป็นคนที่สามารถสร้างแรงกระตุ้นในการทำงานให้ตัวเองได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากใคร มีวินัยและความรับผิดชอบ เนื่องจากประกันเป็นสินค้าการเงินที่มีสัญญาระยะยาว

 

ดังนั้นงานตัวแทน จึงไม่ใช่งานขายสินค้าที่ซื้อขายกันครั้งเดียวแล้วจบกันไป แต่เป็นงานที่ต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และคอยดูแลให้คำปรึกษากันไปในระยะยาว ที่ถือเป็นความรับผิดชอบที่เป็นหน้าที่สำคัญของตัวแทนที่ดีทุกคน นอกจากนั้นในรูปแบบการทำงานอิสระ ไม่มีใครมาคอยบังคับ เราจึงต้องรู้จักบังคับตัวเองให้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบด้วย


มีความอดทน และก้าวผ่านอุปสรรคหรือปัญหาได้ไว เพราะตัวแทนประกันชีวิตเป็นอาชีพที่ต้องพบปะผู้คนที่หลากหลาย จึงเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะได้พบเจอคนที่อาจจะไม่เห็นด้วย หรือไม่เข้าใจในสิ่งที่เราแนะนำ “คำปฏิเสธ” จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะได้พบเจอ เราจึงต้องก้าวข้ามความผิดหวัง และไปต่อให้ไว ไม่มัวจมอยู่กับปัญหาหรือความผิดหวังที่ผ่านไปแล้ว มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ในฐานะที่ปรึกษา ตัวแทนที่ดีจึงควรเป็นคนที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น

 

โดยพยายามเข้าใจถึงความทุกข์ ความกังวลใจ หรือปัญหาที่ลูกค้าเผชิญอยู่ เพื่อช่วยให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าจริงๆ โดยไม่ถือเอาความคิดของตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีความซื่อสัตย์และคิดถึงผลประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเสมอ ด้วยความที่เป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูง ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีจึงต้องระมัดระวังเวลาให้คำแนะนำ ที่จะต้องแนะนำประกันตามความจำเป็นในชีวิตของลูกค้าเป็นที่ตั้ง

 

ภายใต้ค่าเบี้ยที่เหมาะสมกับฐานะของลูกค้า ไม่ใช่เน้นขายเพื่อผลประโยชน์หรือเป้าหมายของตัวเองไว้ก่อน เราถึงจะได้รับความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือจากลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการทำงาน

 

ลองเปิดใจเข้ามาเรียนรู้จริงจัง ธุระกิจหรืออาชีพนี้มีระบบแบบแผน กรอบการทำงาน ที่ใครก็สามารถทำได้และสำเร็จได้ การที่ทำอะไรที่ไม่เคยทำนั้นมันยากเสมอ แต่พอเราทำซ้ำๆบ่อยๆ งานนั้นจะกลายเป็นงานง่าย

 

ลองเปิดโอกาสให้ตัวเองดูนะค่ะ ถ้ามีคนทำได้ เราก็ต้องทำได้ จริงไหมคะ

ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

พรนรา ศิริธีระดา

เบอร์ติดต่อ