วิดีโอ

17ก.ย.
2567

ขั้นตอนในการสมัครเข้าใช้งานแอปฯ ทางรัฐ แบบง่ายๆ

ขั้นตอนในการสมัครเข้าใช้งานแอปฯ “ทางรัฐ” แบบง่ายๆ ทำตามได้ภายในไม่กี่นาที! . “ทางรัฐ” เป็นซูเปอร์แอปของภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงบริการจากหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในแอปเดียว . สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” โดยค้นหาคำว่า “ทางรัฐ” ได้ทั้งระบบ iOS และ Android ผ่าน App Store หรือ Google Play เพื่อการลงทะเบียนที่สะดวก ง่ายขั้นสุด! ให้ท่านเลือก ‘สมัครสมาชิกด้วยบัตรประชาชน’ และทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC) บนแอปทางรัฐ ตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลส่วนบุคคล เช่นเดียวกับแอปฯ ของธนาคาร ก็สามารถใช้งานแอปฯ ทางรัฐได้ทันที! . หมายเหตุ : ทั้งนี้ หากท่านสแกนใบหน้าไม่ผ่าน ท่านสามารถสร้างบัญชีและเข้าใช้งานแอปฯ ทางรัฐได้ก่อน แล้วค่อยทำการสแกนใบหน้าภายหลัง โดยกดที่ปุ่ม ‘สร้างบัญชี’ และทำตามขั้นตอนต่อไป . แอปฯ “ทางรัฐ” รวมบริการภาครัฐกว่า 152 บริการไว้ในแอปเดียว สะดวก ง่าย ปลอดภัย 100% ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง . 📲 ทางลัดถึงรัฐ ช่องทางเดียว ง่าย จบ ครบทุกช่วงวัย 👨‍👩‍👧‍👦 ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ👉https://czp.dga.or.th/cportal/sdk/landing/index.html . #ทางรัฐ #KYC #DGA #สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล #SmartNationSmartLife #รัฐบาลดิจิทัล


โครงการดิจิทัลวอลเล็ต และคุณสมบัติ


วันนี้ 1 สิงหาคม 2567 เป็นวันแรกที่ กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชนที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขลงทะเบียนขอรับสิทธิตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet บนแอปทางรัฐ  หรือ  Super app ลงทะเบียนแอปทางรัฐสำหรับผู้ที่มีสมาร์ทโฟน  ถึงวันที่ 15 กันยายน 2567


1. กลุ่มประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ผู้ได้รับสิทธิต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ณ วันที่สมัคร

2. สัญชาติไทย ผู้ได้รับสิทธิต้องมีสัญชาติไทย ณ วันที่สมัคร

3. อายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ได้รับสิทธิต้องมีอายุเกิน 16 ปี ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน

เกณฑ์กรมสรรพากร

4. ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาทสำหรับปีภาษี 2566

ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566 โดยกรมสรรพากร ประมวลผลข้อมูลผู้มีรายได้ 7 วัน ก่อนเปิดลงทะเบียนโครงการ

เกณฑ์สถาบันการเงิน

5. ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และ สถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท

โดยตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่

(1) เงินฝากกระแสรายวัน

(2) เงินฝากออมทรัพย์

(3) เงินฝากประจำ

(4) บัตรเงินฝาก

(5) ใบรับฝากเงิน

(6) ผลิตภัณฑ์เงินฝาก ในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะ เดียวกับของ (1) - (5)

ทั้งนี้ เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567

เกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

สมชาย ทองสุข

เบอร์ติดต่อ

วิดีโออื่น ๆ