ทำทุนประกันเท่าไหร่ถึงจะพอ

ทำทุนประกันเท่าไหร่ถึงจะพอ ?


สำหรับประกันชีวิต นอกจากเรื่องการซื้อที่ผิดวัตถุประสงค์ (ซื้อเพื่อเอาไว้ลดหย่อนภาษีเป็นหลัก สนใจแต่เรื่องผลตอบแทน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องบริหารความเสี่ยงเลย) และเลือกใช้แบบประกันไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงของตัวเอง (อยากเน้นคุ้มครองชีวิต แต่ไปทำแบบสะสมทรัพย์) แล้วอีกปัญหาหนึ่งที่เรามักจะผิดพลาด

แต่ไม่ค่อยรู้ตัวกันบ่อยๆก็คือ ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วควรจะทำเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม


เพราะคนที่มีกำลังความสามารถในการจ่ายเบี้ยน้อย มักจะซื้อเท่าที่ตัวเองจ่ายไหว ซึ่งมันอาจจะไม่เพียงพอกับความเหมาะสม (รู้ว่าควรทำเท่าไหร่ แต่ทำเท่าที่ทำได้แล้วรู้ว่ายังขาดอีกเท่าไหร่ ต่างกับการทำเท่าที่ทำได้ โดยไม่รู้อะไรเลย) กับอีกกลุ่มคือ มีกำลังความสามารถในการจ่ายเบี้ยสูง ก็ซื้อกันแบบจัดเต็ม โดยเอาวงเงินสูงสุดในการลดหย่อนภาษีเป็นเกณฑ์ แล้วซื้อจนกว่าจะเต็มวงเงินลดหย่อน 100,000 บาทนั้น ซึ่งมันอาจจะสูงเกินความจำเป็น ทำให้เสียโอกาสเอาเงินไปบริหารจัดการเรื่องอื่นที่มีประโยชน์หรือความจำเป็นมากกว่า


ดังนั้นวันนี้ผมจะมาสอนคำนวณการทำประกันชีวิตที่เหมาะสมกับเรากันครับ

ต้องบอกก่อนว่า ที่บอกว่าเหมาะสม นั้น ในการทำประกันชีวิต เราจะดูกันจาก ทุนประกัน หรือวงเงินคุ้มครองชีวิตเป็นหลักครับ ไม่ว่าจะทำเพื่อเน้นคุ้มครองชีวิต หรือเน้นออมเงินก็ตาม เพราะเวลาซื้อเราจะซื้อกันจากทุนประกัน (เป็นตัวเลขกลมๆ) แล้วตัวแทนประกันชีวิตจะคิดกลับมาเป็นค่าเบี้ยที่เราต้องจ่าย นั่นเองครับ


เนื่องจากว่า เป้าหมายของการทำประกันชีวิต จะมีอยู่ 2 แง่มุม คือ

1. ทำเพื่อเน้นคุ้มครองชีวิตตัวเอง

เพื่อดูแลคนที่เรากำลังเลี้ยงดูอยู่ (ว่าถ้าเกิดเราจากไปกะทันหัน คนที่เราดูแลอยู่จะได้มีเงินทุนไปดูแลตัวเองต่อ) ซึ่งแบบนี้ คนที่ได้ผลประโยชน์คือคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่ใช่ตัวเรา


2. ทำเพื่อเน้นคุ้มครอง หรือการันตีเงินออม

(อาจจะเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน แบ่งเงินมาออมในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงขาดทุน ส่วนหนึ่ง) แบบนี้เราจะเป็นคนได้ผลประโยชน์เอง เพราะเราจ่ายเบี้ยเพื่อออมให้ตัวเอง


ซึ่งการคำนวณหาทุนประกันที่เหมาะสมกับเป้าหมายแต่ละแบบ มีดังนี้ครับ


1. ทุนประกันที่เหมาะสม - ถ้าเน้นคุ้มครองชีวิต

หากเราทำเพื่อเน้นคุ้มครองชีวิต ต้องการเตรียมเงินให้คนข้างหลัง ถ้าเราเกิดจากไปกะทันหัน เพราะกลัวคนที่เราเลี้ยงดูจะลำบาก นั่นคือ เราต้องประเมินก่อนครับว่า แล้วคนข้างหลังเขาต้องมีเงินไว้กินไว้ใช้เท่าไหร่ล่ะ จนกว่าเขาจะเลี้ยงดูตัวเองได้? บวกกับภาระหนี้สินส่วนตัวของเรา ที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด เพราะเราไม่อยากให้คนอื่นต้องมารับภาระหนี้ก้อนนี้ต่อ เพราะฉะนั้น ทุนประกันที่เหมาะสมกรณีเน้นคุ้มครองชีวิต จึงเท่ากับ 


ทุนประกันที่เหมาะสมกรณีเน้นคุ้มครองชีวิต = [ค่าใช้จ่ายต่อปีที่เราจ่ายเพื่อเลี้ยงดูคนอื่น x จำนวนปีที่เราต้องเลี้ยงดู] + ภาระหนี้สินที่เหลืออยู่ทั้งหมด


สำหรับจำนวนปีที่เราเลี้ยงดู ซึ่งถ้าคนที่เราเลี้ยงดูอยู่ เป็นลูก เราก็อาจจะเลี้ยงดูจนกว่าเขาจะจบการศึกษา (เพราะหลังจากนั้นก็คงเลี้ยงดูตัวเองได้) เช่น จนกว่าจะจบปริญญาตรี ตอนอายุประมาณ 22 ปี (ถ้ามีลูกหลายคนก็คิดระยะเวลาจนกว่าลูกคนเล็กสุดจะเรียนจบ) หรือถ้าเราเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็จนกว่าพวกท่านจะเสียชีวิต (ต้องตั้งสมมติฐานอายุขัย)


ตัวอย่าง นาย ก. อายุ 30 ปี มีลูก 1 คน อายุ 5 ขวบ จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูลูก (ค่าอาหาร / ขนม / เสื้อผ้า / อื่นๆ) เฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท และจ่ายค่าเล่าเรียนลูก เทอมละ 30,000 บาท ภาระหนี้สินคงค้างมี หนี้บ้าน 3,000,000 บาท หนี้รถ 200,000 บาท


ทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับนาย ก

= (ค่าเลี้ยงดูต่อปี x จำนวนปี ) + ภาระหนี้สิน

= [{(5,000 x 12) + (30,000 x 2)} x (22-5)] + (3,000,000 + 200,000)

= 5,240,000 บาท


นั่นแปลว่า ถ้าวันนี้นาย ก จากไปกะทันหัน ควรจะต้องมีเงินเตรียมให้ลูกและครอบครัว 5,240,000 บาท สำหรับเป็นค่าเลี้ยงดูจนกว่าลูกจะเรียนจบ และปลดภาระหนี้สิน นั่นเอง แต่ถ้าตอนนี้ นาย ก มีทรัพย์สินทั้งหมด 1,000,000 บาท (เช่น เงินฝากทั้งหมด / เงินลงทุนต่างๆ) และมีทุนประกันที่มีอยู่แล้ว 500,000 บาท (จากประกันชีวิตที่มีอยู่เดิม) ก็เท่ากับว่า นาย ก ควรจะทำประกันชีวิตแบบเน้นคุ้มครองชีวิต (แบบตลอดชีวิต / แบบชั่วระยะเวลา) เพิ่มเติมอีก 5,040,000 - (1,000,000 + 500,000) = 3,540,000 บาท นั่นเองครับ


(*หมายเหตุ : วิธีคำนวณแบบนี้ เป็นวิธีคำนวณแบบง่าย ที่มีสมมติฐานว่า ผู้รับผลประโยชน์หรือคนที่อยู่ข้างหลัง ต้องเอาทุนประกันที่ได้จากการเสียชีวิตของเรา ไปบริหารจัดการหรือลงทุน ให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับ อัตราเงินเฟ้อ นะครับ ซึ่งในความเป็นจริง ถ้าได้ผลตอบแทนมากกว่าหรือน้อยกว่า ต้องคำนวณซับซ้อนกว่านี้ครับ)


2. ทุนประกันที่เหมาะสม - ถ้าเน้นออมเงิน

หากเราทำเพื่อเน้นออมเงิน อันนี้ที่จริงไม่มีหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับอะไร ว่าเราควรจะต้องใช้ประกันชีวิตแบบที่เน้นออมเงินเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการรับความเสี่ยงของเราครับ ว่าเป้าหมายการเงินนั้นๆของเรา เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ารับได้มาก และเรามีความสามารถในการลงทุน มีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนานพอ เราอาจใช้เครื่องมือลงทุน เช่น หุ้น / กองทุนรวม / ตราสารหนี้ ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการเตรียมเงิน 100% เลยก็ได้ แต่ถ้าเราคิดว่า มันเสี่ยงไป อยากจะกระจายการออม/ลงทุน มาลงอะไรที่เสี่ยงน้อย หรือไม่มีความเสี่ยงบ้าง ก็ได้ ซึ่งตัวเลขเบื้องต้นที่ผมเสนอแนะก็คือ ไม่เกิน 20% ของเงินเป้าหมาย นั่นเอง แปลว่า ถ้าเรามีเป้าหมายการเงิน ที่มีมูลค่า 100 บาท ก็ให้เราใช้เครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ประกันชีวิต ในการเตรียมเงินก้อนนี้ ไม่เกิน 20% หรือ 20 บาท ส่วนที่เหลืออีก 80 บาท ก็ใช้การลงทุนในการวางแผนเตรียมเงินไปครับ


นาย ก ต้องการวางแผนเกษียณ โดยอยากมีเงินหลังเกษียณใช้เดือนละ 50,000 บาท หรือปีละ 600,000 บาท (มูลค่า ณ ตอนเกษียณ)


แทนที่นาย ก จะวางแผนเกษียณโดยวางแผนลงทุน ใช้เครื่องมือกองทุนรวม เช่น ลงทุนใน RMF หรือ LTF อย่างเดียว ทุกปี เพื่อสะสมให้เงินเติบโตขึ้น เพื่อเอาไว้ใช้หลังเกษียณเดือนละ 50,000 บาทแต่เพียงอย่างเดียว (วิธีการคำนวณเงินเกษียณ และการลงทุนเพื่อการเกษียณไปศึกษาต่อเองได้ครับ) นาย ก อาจจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาซื้อ ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพราะต้องการเน้นออมเงินเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะ นาย ก อาจจะใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อตอบโจทย์ ให้ได้เงินเกษียณที่ได้รับการการันตีว่าจะได้แน่ๆ 20% ของเงินเกษียณต่อเดือนที่ต้องการใช้ทั้งหมด หรือเดือนละ 20% x 50,000 = 10,000 บาท หรือ 120,000 บาทต่อปีนั่นเอง


ซึ่งเงินตรงส่วนนี้ นาย ก จะเอาไปซื้อประกันบำนาญ เพื่อให้ได้เงินบำนาญต่อปี 120,000 บาท สมมติว่า แบบประกันบำนาญที่นาย ก เลือกที่จะทำ บอกว่า จะจ่ายเงินบำนาญให้ เท่ากับ ร้อยละ 15 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งตรงนี้ต้องเท่ากับ 120,000 บาท ตามที่นาย ก ต้องการ ก็แปลว่า นาย ก จะต้องทำทุนประกัน เท่ากับ 120,000 / 15% = 800,000 บาท นั่นเองครับ (จากนั้นก็ค่อยดูว่า ทุนประกัน 800,000 บาท ต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่)


เราควรทำประกันชีวิตเท่าไหร่ ถึงจะพอเหมาะกับตัวเอง?

แต่ไม่ว่าจะทำเพราะจุดประสงค์อะไร สุดท้าย ก็อยู่ที่ กระเป๋าสตางค์ ของเราล่ะครับ ว่ามีกำลังจ่ายไหวเท่าไหร่ ที่จะทำให้เรารู้สึกว่า ไม่เป็นภาระ ซึ่งบางที จำนวนที่เราจ่ายไหว อาจจะไม่เพียงพอต่อทุนประกันที่เหมาะสมของเราก็ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นไร เราอาจจะทำเท่าที่เราทำไหววันนี้ก่อน โดยรู้ว่าเรายังมีส่วนขาดอีกเท่าไหร่ หากวันหน้าเรามีรายได้สูงขึ้น ตอนนั้นเราอาจจะค่อยทำเพิ่มขึ้นจนเต็มก็ได้ครับ ส่วนใครที่มีกำลังจ่าย ตามระดับทุนประกันที่เหมาะสมแล้ว ก็จะได้ทำตามระดับที่เหมาะสม ไม่ต้องทำเยอะเกินไป เพียงเพื่อจะหวังลดหย่อนภาษีอย่างเดียว (เพราะเผลอๆ ภาษีที่ลดหย่อนได้ ยังไม่คุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายมาเกินความจำเป็นเลยค่ะ)


ก็หวังว่า ทุกคนจะได้แนวทางการคำนวณหาทุนประกันที่เหมาะสม ในการทำประกันชีวิตให้พอเหมาะกับตัวเองแล้วนะ

คะ และถ้ามีข้อสงสัยอะไร หรือยังคำนวณไม่ถูก ก็สามารถส่งคำถามหลังไมค์มาหาเรา ได้เลยนะคะ


คลิ๊ก  สนใจทำประกันชีวิต

คลิ๊ก  สนใจสมัครตัวแทน


ติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านล่าง หรือ กด แอดไลน์ Add Line



ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

ปวีณ์นุช จงเจริญ

เบอร์ติดต่อ