ทำไมถึงต้องซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

   เรื่องนี้เป็นโพสต์ของคุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์ อดีตนายกสมาคมตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงิน(thaifa) และอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาทางการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (ApFinSA) ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัวนะครับ กราบขอบพระคุณบทความมาในที่นี้ด้วยครับ 

และนี่คือประเด็นที่น่าสนใจในช่วงนี้ นั่นก็คือ...

    “เปิดเบื้องลึก ทำไมผู้ป่วยโควิดที่มีประกันสุขภาพเหมาจ่าย จึงหาเตียงได้ง่ายกว่า” ซึ่งเนื้อหาสำคัญนะครับ มาจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่เตียงที่รองรับการรักษามีจำนวนจำกัด แม้จะมีการทำรพ.สนามและhospitel ก็ยังไม่พอกับความต้องการอยู่ดี

    ล่าสุด รัฐบาลประกาศให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่รุนแรง (สีเขียวให้กักตัวและพักรักษาตัวที่บ้าน home isolate  เดือดร้อนบริษัทประกันต้องมานั่งตีความว่าจะจ่ายหรือไม่ อะไรยังไงไปอี๊กกกกก

    และถามจริงๆครับ ใครจะอยากรักษาตัวที่บ้าน ในเมื่อทุกคนรู้ดีว่าโรคนี้มีโอกาสลงปอด ซึ่งอาการจะหนักและรุนแรงมาก

    นั่นจึงเป็นโอกาสที่รพ.เอกชนจะได้เวลาทำเงินครับ เพราะอย่างที่รู้คือค่ารักษาพยาบาลของรพ.เอกชนจะแพงกว่ารพ.รัฐ 1-3เท่า ซึ่งช่วงแรกจะมีแต่คนมีเงินและคนที่มีประกันที่กล้าไปใช้บริการ

    จนเมื่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสชประกาศรับผิดชอบค่าตรวจรักษาโรคทั้งในรพ.รัฐและเอกชนทั้งหมด แต่ปัญหาคือ สปสช.ไม่ได้จ่ายเต็มครับ ทำให้รพ.กระมิดกระเมี้ยนในการรับผู้ป่วยที่มาด้วยสิทธิบัตรทอง 

    ยิ่งรัฐบาลออกกฎว่า รพ.ไหนตรวจเจอต้องรับไว้รักษา ยิ่งหนักเลย เราจึงเห็นข่าวรพ.เอกชนเครื่องมือตรวจหมดกันเป็นแถว

    แต่จากข่าววงในจะทราบว่า รพ.เอกชนยังมีการสำรองเตียงให้คนมีฐานะโดยจะแจ้งให้ผู้ที่ต้องการรักษาว่าถ้าสามารถโอนเงินให้รพ.ก่อน 3-5แสนบาท รถพยาบาลจะไปรับเลย อย่าไปว่าเขาครับ เพราะรพ.เอกชนไม่ใช่องค์การกุศล เขาทำมาเพื่อหากำไรโดยและกับการบริการอยู่แล้ว

    ในช่วงหลัง เริ่มมีข่าวลูกค้าหักหลังรพ.เอกชน โดยโทรไปร้องเรียนกระทรวงสาธารณสุขว่าถูกรพ.เอกชนเรียกเก็บเงิน ให้กระทรวงช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย กระทรวงเลยโทรไปให้รพ.คืนเงินลูกค้า และไปเก็บกับ สปสช.แทน

    แล้วนึกสิครับ ว่าการทวงเงินจากหน่วยงานรัฐ มันใช้เวลานานแค่ไหน ตรงกันข้ามกับบริษัทประกันชีวิตที่ใช้เวลาไม่ถึง2สัปดาห์ก็ได้เงินแล้ว

    เราจึงเห็นรพ.เอกชนเปลี่ยนวิธีครับ โดยระบุไปเลยว่าคนไข้ต้องมีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายวงเงิน 5แสนบาทขึ้นไป เพราะค่าเฉลี่ยการรักษาโควิดประมาณ 150,000บาทสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน

    แต่หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น เชื้อลงปอด อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 5ล้านบาทเลยทีเดียว

    มาถึงวันนี้ครับ เมื่อผู้ป่วยล้นเตียงของจริง ขนาดบางคนที่มีประกันสุขภาพยังหาเตียงไม่ได้เลย แต่ก็แน่นอนว่า ถ้าเตียงว่าง ระหว่างคนที่ไม่มีประกันสุขภาพ กับคนที่มีประกันสุขภาพแบบวงเงินน้อย และคนที่มีประกันสุขภาพที่วงเงินสูงๆเช่น 3-5ล้านบาทขึ้นไป...

    ในฐานะที่คุณเป็นเจ้าของรพ.เอกชน คุณจะเลือกรับคนไหนครับ

    สุดท้ายครับ คุณบรรยงได้ฝากข้อแนะนำให้ทุกท่านครับ

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  2. ใส่แมสก์ เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือ
  3. ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนก็ได้ให้เร็วที่สุด
  4. มีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

    สนใจประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่างได้เลยครับ

ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

ณัฐชนม์ พนมชัยวัฒน์

เบอร์ติดต่อ