สมาคมประกันชีวิตไทย เตือน ยกเลิกก่อนเกณฑ์กำหนด

สมาคมประกันชีวิตไทย เตือน “ผู้เอาประกันภัย” ที่ใช้ “สิทธิลดหย่อนภาษี” ไม่ควร “ยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต” ก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด เนื่องจากอาจเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้


โดยที่ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอมนำส่งข้อมูลของทุกกรมธรรม์เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี และไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด เนื่องจากจะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งรวมถึงจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่าย

สมาคมประกันชีวิตไทย ออกโรงเตือนประชาชนคิดยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญาเสียสิทธิมากมาย รวมถึงสิทธิทางภาษี

นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า หากผู้เอาประกันภัยต้องการจะยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือมีผู้ชักจูงให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อไปทำกรมธรรม์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด การยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นทางออกที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทประกันชีวิตที่ได้ทำสัญญาไว้ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผู้เอาประกันภัยกำลังประสบอยู่ เพราะนอกจากการยกเลิกกรมธรรม์แล้วยังสามารถเลือกใช้มูลค่าเงินสำเร็จ  หรือ ใช้มูลค่าขยายเวลาได้อีก ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไปโดยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน และการทำกรมธรรม์ฯ ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเริ่มนับระยะเวลาในการใช้สิทธิโต้แย้งใหม่ ทั้งนี้ หากผู้ขอเอาประกันภัยมีปัญหาสุขภาพ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะต้องมีการเริ่มนับระยะเวลารอคอยใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ถ้ามีการยกเลิกหรือเวนคืนประกันชีวิตก่อนครบสัญญา อาจเสียสิทธิทางภาษีได้

ส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระแล้วไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยทั้งนี้เงินลดหย่อนภาษีดังกล่าวเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีประกันภัยสุขภาพของบิดามารดา สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าบิดามารดาของผู้มีเงินได้ จะต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 

นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าในโอกาสนี้จึงขอย้ำเตือนประชาชนทุกท่านว่า ก่อนยกเลิกกรมธรรม์ควรไตร่ตรองและตระหนักให้ดีก่อนว่าตนเองจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับปัจจุบันอยู่หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนคุณนลิน ได้เลย


ก่อน "ยกเลิก-เวนคืน" จะต้องรู้ว่าเสียสิทธิอะไรบ้าง?

สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว หากมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันภัยสุขภาพ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จะถือว่า ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว รวมถึงเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากร

นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ควรแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอม (consent) แก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด เพราะไม่เช่นนั้น ผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์นั้นได้ กรณีผู้ที่มีกรมธรรม์หลายฉบับ แต่ไม่ได้ให้ความยินยอม (consent) ทุกฉบับ

หากมีการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร จะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิการลดหย่อนภาษี และจะต้องคืนเงินภาษีที่ลดหย่อนได้บนกรมธรรม์ที่ไม่ได้ให้ความยินยอม (Consent) รวมถึงผู้เอาประกันภัยอาจเกิดความยุ่งยากและความไม่เข้าใจเมื่อต้องนำส่งเอกสารเพิ่มเติมให้กับกรมสรรพากร เพื่อรักษาสิทธิการลดหย่อนภาษีดังกล่าวไว้ 

ดังนั้นก่อน “ยกเลิก” หรือ “เวนคืน” กรมธรรม์ประกันชีวิต ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่าจะเสียสิทธิประโยชน์อะไรไปบ้าง แต่กระนั้นสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เป็นเพียงผลประโยชน์เพิ่มเติมเท่านั้น เพราะจุดเริ่มต้น ของการมีประกันชีวิตคือ “เรื่องความคุ้มครองและบริหารความเสี่ยงเป็นหลักสำคัญ”

ขอบคุณข้อมูลจาก https://tlaa.org, https://thairath.co.th


**หากมีข้อสงสัยในแบบประกันหรือต้องการตัวอย่างแบบประกันเฉพาะบุคคล สามารถปรึกษาตัวแทนได้ 


 ปรึกษาแบบประกันแบบส่วนบุคคลฟรี!!


 พียงลงทะเบียน "สนใจทำประกันชีวิต" เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ให้คำปรึกษาท่าน


เคียงข้างกับคุณนลิน


ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

นลิน นครวิลัย

เบอร์ติดต่อ