เวชภัณฑ์ที่ประกันไม่จ่าย
4,722 views 10 shares 2 like

เวชภัณฑ์ที่ประกันสุขภาพและประกันอุบัติไม่จ่าย

เวชภัณฑ์ (Medical Supplies) หมายถึง วัสดุ หรือ อุปกรณ์ เพื่อการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มรายการ ดังนี้

เวชภัณฑ์ 1 (Medical Supplies 1) หมาขถึง วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ อาทิ สาขยางท่อระบาย เข็มฉีดยา ชุดให้ยา (Soluset) ชุดหยดเล็ก (Microdrip Set) ถุงมือ เฝือก

เวชภัณฑ์ 2 (Medical Supplies 2) หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ภายนอกตัวผู้ป่าย เป็นหลัก อาทิ กายอุปกรณ์ เฝือกพยุงคอ (Collar) ไม้เท้า ไม้ค้ำชัน รถเข็น รองเท้าคนพิการ

เวชภัณฑ์ 3 (Mecical Supplies 3) หมายถึง วัสดุ หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใส่ติดตัวผู้ป่วย อาทิ วัสดุดามยึดกระดูก ลิ้นหัวใจเทียม เลนส์ตาเทียม Aneurysm Clips


เวชภัณฑ์อะไรบ้างเวลาที่ประกันไม่จ่าย!!เพื่อที่เรานั้นจะได้รู้และเข้าใจมากขึ้นว่า อะไรบ้างที่ประกันนั้นไม่คุ้มครองเวลาเคลมกับโรงพยาบาล เราจะได้ทราบไว้ก่อนล่วงหน้าเวชภัณฑ์ 2 (Medical Supplies 2) หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ภายนอกตัวผู้ป่วย เป็นหลักอาทิ กายอุปกรณ์ เผือกพยุงคอ (Cobr) ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน รถเข็น รองเท้าคนพิการ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ในหมวดค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ จะสามารถเบิก รายการเวชภัณฑ์ 1 ได้ และ รายการเวชภัณฑ์ 3 ได้ ยกเว้น เครื่องกระตุ้นหัวใจ Defibrillator หรือ Pacemaker และ จะมีข้อยกเว้น ในส่วนของเวชภัณฑ์ 2 ได้แก่ กายอุปกรณ์ อุปกรณ์เทียม เครื่องมือทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์คงทน อาทิ เครื่องช่วยฟัง แว่นตา เลนซ์ เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ออกซิเจน เครื่องวัดสัญญาณชีพ (ชีพจร ความดันเลือด อุณหภูมิ) เครื่องช่วยค้ำยันต่างๆ รถเข็นผู้ป่วย อวัยวะเทียม (แขนเทียม ขาเทียม ตาเทียม)


โดยปกติ เงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์  อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ และข้อยกเว้นความคุ้มครองในกรมธรรม์ที่ตนเองถืออยู่ จะได้ทราบว่าให้ความคุ้มครองและมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง จะได้ใช้สิทธิได้อย่างถูกต้องเต็มที่ตามที่ได้ซื้อความคุ้มครอง

เวชภัณฑ์ที่ประกันไม่จ่าย

เวชภัณฑ์ที่ประกันไม่จ่าย


ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันสุขภาพ ที่ควรรู้

 การทำประกันสุขภาพ ทุกวันนี้คนไทยเริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสถิติการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยมีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นการทำประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งความต้องการของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของการกระจายค่าใช้จ่ายให้ทางประกันเป็นผู้คุ้มครองและดูแล ในส่วนของค่าใช้จ่ายและค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ รวมถึงการชดเชยตามแผนความคุ้มครองที่ผู้ทำประกันเลือกทำ

 

แต่การทำประกันก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ ซึ่งการทำประกันก็มีข้อกำหนดและการยกเว้นต่าง ๆ ที่จะไม่รับทำประกัน หรือ ยกเว้นในบางส่วนของการจ่ายค่าชดเชยหรือค่ารักษา ซึ่งเรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราต้องทำการดูแลร่างกายของตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย แต่หากเกิดเจ็บป่วยแล้วก็ต้องทำการดูแลรักษาให้หาย และทุก ๆ การทำประกันก็จะมีในส่วนของข้อยกเว้นความคุ้มครอง มาในกรมธรรม์ ซึ่งบริษัทประกันแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด


 ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันสุขภาพ 

1. โรคที่เป็นมาก่อน หรือ โรคที่ยังมีการรักษา

 ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ โรคอื่น ๆ ก่อนทำประกัน และ โรคที่ยังมีการรักษาอยู่ และยังไม่จบการรักษา กรณีจะเป็นข้อยกเว้นที่ทุกบริษัทประกันจะยกเว้นส่วนนี้เนื่องจาก เป็นโรคที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองตั้งแต่แรกและเป็นโรคที่เราเป็นมาก่อนการทำประกันจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือโรคที่ยังรักษาได้ไม่หาย และยังมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง แบบยังไม่จบการรักษาที่ต้องมีการไปให้ยาหรือยังทำการบำบัดอยู่นั้น ทางบริษัทประกันจะไม่คุ้มครองในส่วนนี้เช่นเดียวกัน

 

2. การเจ็บป่วยที่อยู่ระยะเวลารอคอย

 เมื่อเราเลือกทำประกันสุขภาพแล้ว จะมีในส่วนของระยะเวลารอคอย ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีระยะเวลาสั้นยาวที่แตกต่างกันออกไปอย่างเช่น 30 วัน 60 วัน 90 วัน และ 120 วันเป็นต้น ซึ่งระยะเวลาการรอคอยเหล่านี้หากให้เข้าใจง่าย ๆ คือ หากเราตรวจพบโรค หรือ เจอภาวะการเกิดโรคที่อยู่ในช่วงระยะเวลารอคอยที่บริษัทประกันเป็นผู้กำหนด ทางบริษัทประกันจะไม่คุ้มครองโรคเหล่านี้ที่เกิดขึ้น ได้แก่ เนื้องอก หรือ มะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด นิ่วทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือ ต้อกระจก เป็นต้น

 

3. การตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรือ แท้งบุตร

 การคลอดบุตร การตั้งครรภ์ รวมไปถึงการแท้งบุตร การคุมกำเนิด การทำหมัน หรือการรักษาเพื่อช่วยให้มีบุตร ประกันส่วนใหญ่จะไม่ได้คุ้มครองในส่วนนี้ ยกเว้นแต่กรณีที่เราซื้อในส่วนของการคุ้มครองการคลอดบุตรเพิ่มเติมขึ้นมา แต่ก็ถือว่ามีน้อยมากในแต่ละบริษัทประกันกับแผนความคุ้มครองนี้ ที่มีก็จะมีระยะเวลที่ยาว และเบี้ยค่อนข้างสูง

 
4. การพยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายร่างกายตัวเอง

 การฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายร่างกายตัวเอง พิษสุราเรื้อรัง การติดยาเสพติด หรือ โรคที่เกิดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนนี้บริษัทประกันจะไม่ได้ให้ความคุ้มครอง เนื่องจากเป็นการตั้งใจ หรือ เกิดมาจากการเจตนาที่ก่อให้เกิดขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งจึงไม่มีการรับประกันในส่วนนี้และกลายเป็นข้อยกเว้น

 

5. การรักษาโรค หรือ ภาวะเกี่ยวกับทางระบบประสาท หรือ ทางจิต

 ไม่ว่าจะเป็นภาวะเกี่ยวกับทางจิตประสาท ภาวะเครียด วิกลจริต สามารถเกิดได้จึงเป็นข้อยกเว้นในการทำประกัน และยิ่งในปัจจุบันมีอัตราผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะทางจิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งภาวะทางจิตประสาทเหล่านี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย และ ทำร้ายร่างกายตัวเองได้มากขึ้น


 เห็นไหมว่าทุกข้อยกเว้นล้วนแต่เป็นสิ่งใกล้ตัวเราทั้งสิ้น ดังนั้นเราควรเริ่มต้นด้วยทำประกันสุขภาพควบคู่เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญก่อนทำประกันเราควรศึกษารายละเอียดการรับประกันให้ดีว่ามีข้อยกเว้นอะไรบ้าง 


ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) หมายถึง การมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญเป็นพิเศษในวิชาชีพของตน สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอย่างถูกต้อง และสามารถ ประกันคุณภาพของงานที่ทำได้ รวมทั้งการมีไหวพริบในการจัดการ แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ และทำงานอย่างจริงจัง โดยมุ่งมั่น ตั้งใจให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด 

เวชภัณฑ์ที่ประกันไม่จ่าย

เวชภัณฑ์ที่ประกันไม่จ่าย


ให้เราดูแลคุณสนใจติดต่อตัวแทน

กิตติธัช ปัญญาสหโชติ

เบอร์ติดต่อ